
เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างไอเดียพื้นที่สาธารณะ
เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างไอเดียพื้นที่สาธารณะ ผ่านโครงการออกแบบ ‘UNIQUELY THAI’
ฟัง ‘เสียง’ ของคนรุ่นใหม่ ที่จะกลายมาเป็นผู้กำหนด ‘เมือง’ ที่พวกเขาอาศัยอยู่ จะเป็นอย่างไร เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างไอเดียพื้นที่สาธารณะ ผ่านโครงการออกแบบ ‘UNIQUELY THAI’
ปัจจุบันพื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากเมื่อเมืองพัฒนาขึ้น พื้นที่จำนวนมากก็ถูกนำไปพัฒนาเป็นอาคารพาณิชย์สูงใหญ่เพื่อผลักดันเศรษฐกิจ และในมุมหนึ่งมันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเหลื่อมล้ำ พื้นที่สาธารณะจึงเป็นสิ่งที่ผู้คนโหยหา และเป็นเสมือนรากฐานที่สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เพราะนอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ ทุกรสนิยม สามารถเข้าถึงได้และใช้งานอย่างหลากหลายแล้ว มันยังเป็นภาพสะท้อนของสิ่งที่เมืองให้ความสำคัญควบคู่ไปความเจริญทางวัตถุ นั่นคือ คุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมของประชาชนทุกคน
น่าสนใจว่า แล้วพื้นที่สาธารณะในบริบทแบบไทยๆ สำหรับมุมมองของเหล่าสถาปนิกรุ่นใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นผู้ออกแบบเมืองในอนาคตที่พวกเขาและคนอื่นๆ ต้องอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร มีหน้าตาแบบไหน และตอบโจทย์วิถีชีวิตคนไทยอย่างไรบ้าง
จากไอเดียดังกล่าว จึงกลายมาเป็นมาโปรเจ็กต์ประกวดออกแบบพื้นที่สาธารณะ ที่ทางสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) และ ครีเอทีฟ แล็บ (Creative Lab) ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CPFC) ร่วมกันจัด
ในชื่อ ‘Uniquely Thai’ Envisioning the 21st Century Bangkok’s Civic Center Architectural Design Competition 2021 เพื่อร่วมกันค้นหาภาพของ Civic Center หรือ พื้นที่สาธารณะประเภทต่างๆ ที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของประชากรเมือง ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ เพื่อจะสามารถนำไปต่อยอดสู่การสร้างพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ ที่แตกต่างแบบไทย และยกคุณภาพชีวิตคนไทยในอนาคต
สำหรับคอนเซ็ปต์การออกแบบของ มนัสนันท์ เดชะสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คือการสร้างอาคารให้เป็นจุดเชื่อมต่อทางเดินเท้า เพื่อสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไปที่พ่อค้ารายย่อย สร้างเสริมการท่องเที่ยว และการเรียนรู้ในวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน สร้างการเชื่อมต่อของย่าน โดยสร้างเส้นทางในโครงการ 4 จุด ได้แก่ เส้นทางพัฒนาต่อยอดและสืบสานวัฒนธรรมไทย, เส้นทางพัฒนาทางด้านอาชีพ สร้างเสริมธุรกิจด้าน art and craft, เส้นทางการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน และเส้นทางการพักผ่อนของคนเมือง โดยสร้าง perception of thainess โดยสร้าง authenticity of place ให้กับพื้นที่ จากการรับรู้ sequence ของแสงและพื้นที่ research มาจากในสถาปัตยกรรมไทย และดัดแปลง และออกแบบให้เข้ากับสถาปัตยกรรมแบบใหม่